วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การวางแผนกลยุทธ์ของเทศบาลตำบลจำปี



            
การวางแผนกลยุทธ์ของเทศบาลตำบลจำปี

พันธกิจ (Mission)
    1.      ส่งเสริมการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ให้ได้มาตรฐานและปลอดภัย
    2.      ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    3.      ส่งเสริมสุขอนามัยที่ดีแก่ประชาชน
    4.      สริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจให้ชุมชน
    5.      ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
    6.      ฟื้นฟู อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีดีอันดีงามของท้องถิ่น
    7.      เสริมสร้างการบริการประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล



โครงสร้างการบริหาร




การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
1.     การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths–S) คือขีดความสามารถ หรือทรัพยากร ที่อยู่ภายในท้องถิ่น ซึ่งสามารถนํามาใช้จัดการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ ภารกิจหลัก และเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
          1.1  เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การทําเกษตรกรรม เช่น การปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ ทําไร่อ้อย มันสําปะหลัง 
          1.2  หมู่บ้าน/ชุมชนมีวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็น เอกลักษณ์ของตนเอง
          1.3  ประชาชน ให้การสนับสนุน ส่งเสริม ตรวจสอบ ติดตามการดําเนินของเทศบาล
          1.4    ประชาชนอาศัยอยู่โดยเน้นหลักเศรษฐกิจพอเพียง
       
        2.    จุดอ่อน ( Weaknesses–W) คือ ความผิดพลาด ข้อจํากัดหรือข้อด้อย ภายใน ท้องถิ่น ซึ่งมีผลให้มิอาจบรรลุแนวทางการพัฒนาที่กําหนดไว้ ได้แก่
         2.1   เป็นเทศบาลขนาดเล็ก ทําให้มีข้อจํากัดในเรื่องงบประมาณที่จะนํามาพัฒนาท้องถิ่น
         2.2   การบริหารงานภายในเทศบาล บุคลากรไม่เพียงพอ
         2.3   ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวภายในพื้นที่

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
       3.       โอกาส (Opportunities–O) คือ สถานการณ์ในสิ่งแวดล้อมภายนอกท้องถิ่นที่มีลักษณะเกื้อกูลหรือสนับสนุนต่อแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น ได้แก่
          
         3.1   พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอํานาจหน้าที่ในการ จัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยที่หน่วยงานราชการ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคส่งเสริมและสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนตําบล
        3.2    แนวนโยบายของจังหวัดหรืออําเภอที่สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
        3.3    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างเท่าเทียมกัน 
   

         4.    ปัญหา/อุปสรรค (Threats– T) คือ สถานการณ์ในสิ่งแวดล้อมภายนอกท้องถิ่นที่มีลักษณะส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลทางลบต่อการทํางานของท้องถิ่นโดยอาจ อยู่ในรูปของอุปสรรคหรือข้อจํากัดได้แก่

        4.1  สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับประเทศ ในระดับภูมิภาคส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น
        4.2   ภาวะน้ำมันแพงที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชน
        4.3   มีปัญหายาเสพติด ปัญหาการว่างงาน
        4.4   การขาดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



การวิเคราะห์กลยุทธ์และทางเลือกของกลยุทธ์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการเกษตร

เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ 
1.   เพิ่มผลผลิตสินค้าการเกษตรและลดต้นทุนการผลิต
2.   พัฒนาระบบการเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.   สร้างรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาสให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
4.   พัฒนาฝีมือแรงงานให้มีขีดความสามารถยิ่งขึ้น
5.   สร้างเครือข่ายการทําปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้ในครัวเรือน

กลยุทธ์ (Strategies)
1.  สนับสนุนให้ความรู้ในการปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดและเทคนิคใน
การเพาะปลูก
2.  พัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษต
3.  พัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานเพิ่มทักษะฝีมือให้สูงยิ่งขึ้น
4.  ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านผลิตภัณฑ์ชุมชน

เป้าประสงค์ (Goals) 
1.  สินค้า OTOP ของอําเภอมีคุณภาพได้มาตรฐาน
2.  พัฒนาระบบการค้า ให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

กลยุทธ์ (Strategies)
1. พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้คุณภาพและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
2. ส่งเสริมช่องทางการจําหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การฟื้นฟูระบบนิเวศ

เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1. พัฒนาอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีมาตรฐาน

กลยุทธ์ (Strategies)
1. ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
5. สร้างภาคีเครือข่ายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งใน
6. ระดับชุมชนระดับตําบ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคมและคุณภาพของประชาชนที่ดี

 เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1. การสร้างความมั่นคงและพัฒนาสังคมให้มีสันติสุข
2. คุณภาพชีวิตของประชาชน ชุมชน สังคม มีคุณภาพตามมาตรฐาน
3. พัฒนาระบบการศึกษาทุกระดับให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
4. ลดการแพร่ระบาดของยาเสพติดทุกชนิด
5. บริการด้านสาธารณสุขมีคุณภาพและได้มาตรฐานขึ้น
6. พัฒนาการเรียนรู้และการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม

กลยุทธ์ (Strategies)
1. เสริมสร้างความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน
2. ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชุมชน
3. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคม พัฒนาระบบบริการภาครัฐให้ได้มาตรฐาน
4. ส่งเสริมให้ครอบครัวมีภูมิคุ้มกันและสามารถจัดการกับปัญหาในการดําเนินชีวิตได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความปลอดภัย

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 ความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย

เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
2. มีการป้องกัน ปราบปราม อาชญากรรม และแก้ไขการแพร่ระบาดของยาเสพติดทุก
ชนิด
3. มีภาคีเครือข่ายในการสร้างความมั่นคงและรักษาความสงบเรียบร้อย

กลยุทธ์ (Strategies)
1. การพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในความมั่นคงและความสงบ
เรียบร้อยภายใน
2. กําหนดมาตรการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด
3. สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น



วัตถุประสงค์

           1.   เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรมและรอบรู้อย่างเท่าทัน
           2.   เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และอนุรักษ์          ธรรมชาติอย่างยั่งยืน
           3.   เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรม
           4.   เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและระบบบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับภาคการเงิน การคลัง พลังงาน ตลาดปัจจัยการผลิตตลาดแรงงานและการลงทุน
           5.   เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรม
           6.   เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและคุณค่าหลากหลายทางชีวภาพ
           7.   เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ภูมิภาค ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน



แผนการดำเนินงาน
1. พัฒนาส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ
       โครงการแข่งขันกีฬาต้านภัยยาเสพติดจัดการแข่งขันกีฬาต้านภัยยาเสพติด
         งบประมาณ 70,000บาท
โครงการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจําปี 2558 จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ
ประจําปี 2558 งบประมาณ 50,000 บาท

2.  พัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งแก่ชุมชน
โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ดําเนินการป้องกันและ
แก้ไขปัญหายาเสพติด เช่น ดําเนินงานศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ฯลฯ งบประมาณ 50,000 บาท
      โครงการก่อสร้างบ้านให้แก่ผู้ยากไร้ ก่อสร้างบ้านให้แก่ผู้ยากไร้
จํานวน 1 หลัง งบประมาณ 70,000 บาท



นโยบายผู้บริหาร
1. นโยบายเร่งด่วน 
        เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในระดับชุมชน ได้แก้ การ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ การสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน ฟื้นฟูประชาธิปไตยด้วยการเมืองท้องถิ่น  

2. นโยบายพัฒนาสังคม สาธารณสุข และคุณภาพชีวิต 
        เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี แก่ประชาชน เน้นการเข้าถึงบริการด้วยกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาล อาสาสมัคร สาธารณสุข อุปกรณ์กําจัดยุงลาย สถานพยาบาลทันสมัยใกล้บ้าน สุขอนามัยอาหารร้านค้า ตลาดสะอาดปลอดสารพิษ

    
3. นโยบายปรับปรุงฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม 
         ด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดภาวะโลกร้อน ปรับปรุงภูมิทัศน์ตําบลสร้างบรรยากาศสดใส สะอาด ประสานการจัดระบบกําจัดขยะที่มี ประสิทธิภาพ เสริมสร้างการมีส่วนร่วม แปรรูปขยะ เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน ให้มีระบบระบายน้ำในเขตเทศบาล พัฒนาคูคลองสาธารณะ แหล่งน้ำธรรมชาติ


 4. นโยบายเศรษฐกิจและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน 
        เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้ชุมชน นโยบายด้านนี้จึงมุ่งเน้นการกระจายรายได้ชุมชน ด้วยแนวทางการสนับสนุนงบประมาณให้ชุมชน พัฒนาชุมชนภายใต้ภารกิจที่พึงสนับสนุนได้ พัฒนากองทุนหมู่บ้านให้เป็นแหล่งเงินทุนผู้มีรายได้น้อย



การปฏิบัติตามกลยุทธ์
            ให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
ท้องถิ่น ประกอบด้วย

1. สมาชิกสภาท้องถิ่นที่สภาท้องถิ่นคัดเลือกจํานวนสามคน
2. ผู้แทนประชาคมท้องถิ่นที่ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือกจํานวนสองคน
3. ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือกจํานวนสองคน
4. หัวหน้าส่วนการบริหารที่คัดเลือกกันเองจํานวนสองคน
5. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือกจํานวนสองคน


            องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกดําเนินการ
หรือร่วมดําเนินการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาได้ โดยดําเนินการ ดังนี้

1. คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นจัดทําร่างข้อกําหนด
ขอบข่ายและรายละเอียดของงานที่จะมอบหมายให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกดําเนินการ เพื่อ
เสนอผู้บริหารท้องถิ่น
2. ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติข้อกําหนดขอบข่ายและรายละเอียดของงาน
หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกดําเนินการหรือร่วมดําเนินการติดตามและ
ประเมินผล
3. ให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกดําเนินการหรือร่วมดําเนินการติดตามและ
ประเมินผล เพื่อประเมินผลการรายงานผล เสนอความเห็นต่อผู้บริหารท้องถิ่น
4. ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอผลการติดตามและประเมินผลต่อสภาท้องถิ่น 

คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชน ในท้องถิ่นทราบโดยทั่วกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี ทั้งนี้ให้ปิดประกาศโดยเปิดเผยไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
เทศบาลตำบลจำปีได้ดําเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาเทศบาลตำบลจำปีแล้ว โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาจากตัวอย่างในคู่มือการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา ท้องถิ่นของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับการดําเนินงานของเทศบาล และ จะได้ดําเนินการแจ้งให้ผู้บริหารท้องถิ่น สภาท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และประกาศ ให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบต่อไปภายในเดือนธันวาคมของทุกปี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น